วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แนวข้อสอบ

1.     ธาตุซึ่งมีเลขอะตอมต่อไปนี้  ข้อใดมีค่า IE1 เรียงตามลำดับจากน้อยไปหามาก
        ก. 8, 9, 10, 11, 12                                      ข. 12, 11, 10, 9, 8
        ค. 11, 12, 8, 9, 10                                      ง. 10, 9, 8, 12, 11

2.     พิจารณาธาตุ 3Li , 4Be , 5และ 6C ค่า IE3 ของธาตุใดมีค่ามากที่สุด
        ก. Li                   ข. Be              ค. B            ง. C

3.     ธาตุ Li ทำปฏิกิริยากับธาตุ ในสารประกอบ ซึ่งทำปฏิกิริยากับน้ำรุนแรงในสารละลายเป็นเบส เลขออกซิเดชันของ ในสารประกอบ มีค่าเป็น -1 สารประกอบ คืออะไร
        ก. Li2O          ข. Li3N           ค. LiH         ง. LiCl

4.     การที่ธาตุแทรนซิชันสามารถเกิดสารประกอบได้หลายอย่าง เพราะ
        ก. มีเวเลนต์อิเล็กตรอนมาก                        ข. เป็นโลหะที่จัดไว้เป็นกลุ่มพิเศษ
        ค. มีเลขออกซิเดชันได้หลายค่า                  ง. พลังงานไอออไนเซชันลำดับ 1-3 มีค่าต่ำ

5.     สารประกอบต่อไปนี้ข้อใดมีสี
        ก. K2SO4 , MnCl2                                        ข. K2Cr2O, Fe(OH)3
        ค. Cl2O , Co(NO3)2                                     ง. Ni(NH3)2+6 , RbCl

6.    สิ่งที่เหมือนกันในระหว่างธาตุต่าง ๆ ที่อยู่ในหมู่เดียวกันในตารางธาตุ คือ
ก.       มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 เท่ากัน
ข.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนเหมือนกัน
ค.       มีการจัดเรียงตัวของอิเล็กตรอนของระดับพลังงานชั้นนอกสุดเหมือนกัน
ง.       มีขนาดใกล้เคียงกันมาก

7.    สารประกอบคลอไรด์ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำที่สุด คือ
       ก. NaCl                                                    ข. CaCl2
       ค. NCl3                                                     ง. LiCl

8.     เลขออกซิเดชันของซีนอนในสารประกอบใดมีค่าสูงที่สุด
        ก. Na4XeO6                      ข. XeOF4               ค. H6XeO6                  ง. XeF4

9.    ถ้าอะตอมของอาร์เซนิกได้รับ 3 อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น จะได้อนุภาคที่มีการจัดอิเล็กตรอน เหมือนกับอะไร
       ก. อาร์กอน                                              ข. โบนมีน
       ค. คลิปตอน                                            ง. อันติโมนี

กำหนดเลขอะตอมของธาตุดังนี้

10.    ธาตุที่มีอิเล็กโตรเนกาติวิตีสูงที่สุดและไอออนที่มีขนาดเล็กที่สุดตามลำดับ ที่ถูกต้องควรเป็นข้อใด
         ก.   C,A2+                           . A,B+                   ค. B,C                         . C,B+

11.    ในกรณีที่พบว่ามีโลหะโซเดียมเหลือใช้จากปฏิกิริยา เมื่อต้องการจะทำลายโลหะโซเดียมให้เป็นสารประกอบที่เฉื่อยลง ท่านควรจะเติมสารใดต่อไปนี้
         ก. น้ำบริสุทธ์                                          ข. น้ำผสมกรดเล็กน้อย
         ค. เอธานอล                                            ง. เฮกเซน

12.    ธาตุใดต่อไปนี้มีความว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยามากที่สุด
         ก. F2                                                        . O2
         ค. Na                                                      ง. Cl2

13.    สาร เป็นธาตุมีสมบัตินำไฟฟ้าได้ ทั้งซัลไฟด์และคลอไรด์ของ เป็นของเหลวที่ไม่ละลายในน้ำ สาร ควรเป็นธาตุใด
         ก. Ca                                  ข. N                         ค. C                          ง. Sn

14.    เมื่อนำ CaO ไปละลายน้ำ จะได้สารใดเป็นผลิตภัณฑ์
         ก. CaOH                           ข. H2                         ค. Ca(OH)2                 ง. O2

15.    ข้อใดเป็นประโยชน์ของสารประกอบคลอไรด์
         ก. ใช้ฆ่าเชื่อโรค                                     ข. ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกสี
         ค. ใช้เป็นตัวทำละลาย                            ง. ถูกทั้งข้อ ก. ข. และ ค.

16.    ธาตุที่เป็นกาซชนิดหนึ่งมีจุดหลอมเหลว  และจุดเดือดต่ำมาก ไม่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนและออกซิเจน ธาตุนี้ควรจะอยู่รวมกลุ่มกับธาตุใด
         ก. โลหะ                                                 ข. อโลหะ
         ค. กึ่งโลหะ                                             ง. ธาตุมีตระกูล

17.    แร่แคสซิเทอไรต์ มีสูตรเคมีอย่างไร
         ก. SiO2                                                  ข.Fe2O3
         ค. SnO2                                                 ง. ZnS

18.    ธาตุในกลุ่มใดที่ประกอบด้วยธาตุแทรนซิชันทั้งหมด
         ก. Fe  Si  Sb  Rb                                    ข. Fe  Al  Cu  Fr
         ค. Fe  Co  Te  AT                                  ง. Fe  Cu  Cr  Mn

19.    ข้อความต่อไปนี้ข้อใดถูกต้อง
              1. รังสรแอลฟา มีสัญลักษณ์เขียนแทนเป็น 42He
              2. รังสีบีตามีอำนาจทะลุทะลวงสูงมาก
              3. รังสีแกมมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวสั้นมาก ไม่มีประจุและมวล
         ก. ข้อ 1. และ 2     ข. ข้อ 2 และ 3   ค. ข้อ 1 และ 3        ง. ข้อ 1,2 และ 3
  
20.    จากปฏิกิริยาต่อไปนี้

X,Y และ คืออนุภาคใดตามลำดับ
21.    ข้อใดเกี่ยวกับรังสีแอลฟา
         ก. ไม่สามารถทะลุทะลวงผ่านกระดาษหรือโลหะบาง ๆ ได้
         ข. ประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอย่างละสองอย่าง
         ค. เมื่ออยู่ในสนามไฟฟ้าจะเบี่ยงเบนไปทางขั้วบวก
         ง. วิ่งผ่านอากาศอาจทำให้อากาศแตกตัวเป็นไอออนได้

22.    ชนิดของการแผ่รังสีต่อไปนี้ รังสีใดไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็ก
        ก. รังสี-                         ข. รังสีแกมมา              ค. รังสีบีตา                ง. นิวตรอน

23.    กระบวนการใดที่มีเลขอะตอมเพิ่มขึ้น 1 หน่วย
        ก. การแผ่รังสรแอลฟา                                          ข. การแผ่รังสีบีตา     
        ค. การแผ่รังสีแกมมา                                            ง. การแผ่รังสีโปซิตรอน

24.   ไอโซโทปกัมมันตรังสีมีอัตราการสลายตัวภายหลัง 96 นาที เหลือเพียงหนึ่งส่วนแปดของมัน เดิมที่มีอยู่ ครึ่งชีวิตของไอโซโทปกัมมันตรังสีมีค่าเท่าไร
        ก. 12.0 นาที                       ข. 24.0 นาที                ค. 32.0 นาที              ง. 48.0  นาที
25.   ธาตุกัมมันตรังสีใดที่ใช้ในการคำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ คือ
        ก. I-131
        ข. Co-60
        ค. C-14
        ง. P-32
26.    ปฏิกิริยาลูกโซ่นี้ถ้าไม่มีการควบคุม จะเกิดปฏิกิริยารุนแรงเรียกว่าอะไร
         ก. ลูกระเบิดปรมาณู      ข. ระเบิดลูกโซ่              ค. ระเบิดนิวเคลียร์     ง. ถูกทุกข้อ

27.    ธาตุกัมมันตภาพรังสี Co – 60 นำมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายยกเว้นข้อใด
         ก. รักษาโรคมะเร็ง                                                          ใช้ในการถนอมอาหาร
         คกำจัดวัชพืช                                                                 งการหาอายุวัตถุโบราณ

28.    การใช้ไอโซโทปของธาตุกัมมันตภาพรังสีตรวจหา รอยรั่ว รอยตำหนิ ของโลหะเป็นการใช้ประโยชน์ทางด้านใด
         กอุตสาหกรรม                                                               ธรณีวิยา
         คการแพทย์                                                                    การขนส่ง

29.    วิธีการตรวจสอบธาตุกัมมันตรังสีวิธีใดที่ปลอดภัยและได้ผลแม่นยำที่สุด
          กใช้ฟิลม์หุ้มสารที่ตรวจสอบ                                      ขใช้สารเรืองแสงตรวจสอบ
          คใช้เครื่องมือไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์                  งหลอดรังสีแคโทด

30.    ธาตุกัมมันตรังสีนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางยกเว้นข้อใด
         กด้านการแพทย์                                                              ขด้านเกษตรกรรม
         คด้านอุตสาหกรรม                                                         งด้านบันเทิง


เฉลยแนวข้อสอบ
1. ค.                      2. ข.                      3. ค.                      4. ค.                      5. ข.                      6. ค.
 7.ค.                       8. ก.                      9. ค.                      10. ง.                    11. ค.                    12. ก.
13. ค.                    14. ค.                    15. ค.                    16. ง.                    17. ค.                    18. ง.
  19. ค.                    20. ก.                    21. ค.                    22. ข.                    23. ข.                    24. ค. 
25. ค.                    26. ก.                    27. ง.                    28.                     29. ค.                    30.

ที่มา : http://www.kme10.com/mo4y2552/mo403/noname28.htm

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2559

3.8 ธาตุและสารประกอบในสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม

1.ธาตุอะลูมิเนียม-->อะลูมิเนียม (Al) พบมากในเปลือกโลกประมาณ 7.5% โดยมวล ในรูปของสารประกอบ
2.ธาตุแคลเซียม-->พบในเปลือกโลกประมาณ 5.4% โดยมวล พบในรูปของสารประกอบที่มี CaCO 3 เป็นองค์ประกอบ
3.ธาตุทองแดง--> ทองแดงเป็นโลหะชนิดแรกๆ ที่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้งาน จากหลักฐานพบว่า มนุษย์รู้จัก การถลุงทองแดงขึ้นมา ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แม้ว่าทองแดงจะมีปริมาณน้อยมาก ในเปลือกโลก (เพียง 0.0001%) เมื่อเทียบกับโลหะอื่นอย่างเหล็ก (5%) หรืออลูมินัม (8%) แต่ทองแดงเป็นโลหะมีตระกูล ซึ่งสามารถพบได้ทั้งในรูปอิสระ และในรูปสารประกอบ
4.ธาตุโครเมียม-->โครเมียมเป็นธาตุที่พบตามธรรมชาติในดิน หิน พืช สัตว์ ฝุ่นขากปล่องภูเขาไฟ ในร่างการคนเราจะมีโครเมียมปริมาณน้อย และเป็นสารอาหารที่จำเป็นเพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์ การใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมนั้น ส่วนใหญ่ใช้ทำและชุบเหล็กและอัลลอยด์ อิฐในเตาเผา สารประกอบของโครเมียมใช้เป็นสีย้อม
5.ธาตุเหล็ก-->พบในเปลือกโลกประมาณ 4.7% โดยมวลและพบในรูปของแร่ชนิดต่างๆ
6.ธาตุไอโอดีน-->พบในปริมาณเล็กน้อยในน้ำทะเล ในสาหร่ายทะเลบางชนิด และพบในสินแร่ที่มีโซเดียมไนเตรตอยู่ในรูปของโซเดียมไอโอเดต (NaIO3) ไอโอดีนเป็นโลหะที่มีสถานะเป็นของแข็ง เป็นเกล็ดมันวาวสีม่วง ระเหิดได้ง่าย ละลายน้ำได้น้อยมากแต่ละลายได้ในตัวทำละลายชนิดอื่นๆได้ดี
7.ธาตุไนโตรเจน--> พบมากทั้งในรูปของธาตุอิสระและสารประกอบ ในอากาศมีแก๊สไนโตรเจนอิสระประมาณ 78% การแยกแก๊สไนโตรเจนออกจากอากาศทำได้โดยทำอากาศให้เป็นของเหลวแล้วนำไปกลั่นลำดับส่วน จะได้ไนโตรเจนเหลวออกมา ไนโตรเจนเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
8.ธาตุออกซิเจน-->พบในเปลือกโลกในปริมาณมากที่สุดประมาณ 49.5% โดยมวล พบในธรรมชาติทั้งในสภาพอิสระและในรูปสารประกอบออกซิเจนในอากาศมีประมาณ 21% โดย ปริมาตร และเป็นองค์ประกอบในสารอาหารจำนวนมาก
9.ธาตุฟอสฟอรัส-->พบอยู่ในรูปของสารประกอบ ส่วนใหญ่เป็นแร่หินฟอสเฟต เช่น แคลเซียมฟอสแฟต ฟลูออโรอะปาไตต์ ฟอสฟอรัสเตรียมจากการเผาแร่หินฟอสเฟตกับซิลิกาและถ่านโค้กที่อุณหภูมิสูงประมาณ จะได้ไอฟอสฟอรัสออกมา ฟอสฟอรัสมีหลายรูป
10.ธาตุซิลิคอน-->พบในเปลือกโลกประมาณ 25.67% โดยมวล มีปริมาณมากเป็นที่สองรองจากออกซิเจนพบในแร่ควอตซ์และทรายในรูปของซิลิคอนไดออกไซด์ ที่เรียกว่าซิลิกาและในรูปสารประกอบซิลิเกต
11 ธาตุสังกะสี-->พบในเปลือกโลกประมาณ 0.01% โดยมวล พบในรูปของแร่หลายชนิดคือ แร่สฟาเลอไรต์หรือซิงค์เบลน (ZnS) แร่เฮมิมอร์ไฟต์ แร่สมิทโซไนต์ สังกะสีเตรียมได้โดยนำแร่มาเผาในอากาศเพื่อเปลี่ยนซัลไฟด์เป็นออกไซด์แล้วรีดิวซ์ออกไซด์ด้วยถ่านโค้กที่อุณหภูมิสูง จะได้ไอของสังกะสี

12.ธาตุเรเดียม-->เป็นธาตุกัมมันตรังสี เตรียมจากกระบวนการแยกสลายสารประกอบแฮไลด์ของเรเดียมด้วยไฟฟ้าโดยใช้ปรอทเป็นขั้ว ไอโซโทปที่เสถียรที่สุดคือ Ra-226 การสลายตัวของเรเดียมจะให้รังสีแกมมาซึ่งใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ธาตุนี้เรืองแสงได้ในที่มืด

3.7 การทำนายตำแหน่งและสมบัติของธาตุในตารางธาตุ

การศึกษาสมบัติของธาตุตามตารางธาตุ จะช่วยในการทำนายสมบัติของธาตุได้ ถ้ารู้ตำแหน่งของธาตุนั้นในตารางธาตุหรือถ้ารู้สมบัติบางประการของธาตุอาจพิจารณาตำแหน่งของธาตุได้ดังตัวอย่างการจัดตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนที่ศึกษามาแล้ว ต่อไปนักเรียนจะได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาวิธีการประมาณตำแห อ่านเพิ่มเติม

3.6 ธาตุกัมมันตรังสี

3.6.1  การเกิดกัมมันตภาพรังสี

                 กัมมันตภาพรังสีเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของสาร เกิดจากธาตุกัมมันตรังสี เช่น U-238 และ Th-232  แผ่รังสีออกมาตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะนิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสีมีพลังงานสูงมากและไม่เสถียร จึงปล่อยพลังงานออกมาในรูปของอนุภาคหรือรังสีบางชนิด แล้วธาตุเหล่านั้นก็จะเปลี่ยนเป็นธาตุใหม่ ต่อมารัทเทอร์ฟอร์ดได้ศึกษาเพิ่มเติมและแสดงให้เห็นว่ารังสีที่แผ่ออกมาจา อ่านเพิ่มเติม
3.6.2  การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
                   จากการศึกษาไอโซโทปของธาตุจำนวนมากทำให้ได้ข้อสังเกตว่า ไอโซโทปของนิวเคลียสที่มีอัตราส่วนระหว่างจำนวนนิวตรอนต่อจำนวนโปรตอนไม่เหมาะสมคือนิวเคลียสที่มีจำนวนนิวตรอนแตกต่างจากจำนวนโปรตอนมากเกินไปจะไม่เสถียร จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในนิวเคลียสแล้วเกิดเป็นนิวเค อ่านเพิ่มเติม


3.6.3  ครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี

                  ธาตุกัมมันตรังสีจะสลายตัวให้รังสีชนิดใดชนิดหนึ่งออมาได้เองตลอดเวลา ธาตุกัมมันตรังสีแต่ละชนิดจะสลายตัวได้เร็วหรือช้าแตกต่างกัน ปริมาณการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีจะบอกเป็น ครึ่งชีวิต ใช้สัญลักษณ์ครึ่งชีวิต หมายถึง ระยะเวลาที่นิวเคลียสของธาตุกัมมันตรังสี สลายตัวจนเหลือครึ่งหนึ่งของปริมาณเดิม ไอโ อ่านเพิ่มเติม


3.5 ธาตุกึ่งโลหะ

เมื่อพิจารณาตารางธาตุที่ใช้ในปัจจุบัน จะพบว่าทางด้านค่อนไปทางขวาของตารางธาตุจะมีเส้นทึบเป็นขั้นบันไดปรากฎอยู่ ธาตุทางขวาเส้นทึบจัดเป็นกลุ่มอโลหะส่วนทางด้านซ้ายจัดเป็นกลุ่มโลหะ สำหรับธาตุที่อยู่ชิดเส้นแบ่งนี้จะเรียกว่า ธาตุกึ่งโลหะ  ธาตุในกลุ่มนี้มีสมบัติอย่างไรให้นักเรียนศึกษาสมบัติบางประการของธาตุกึ่งโลหะเปรียบเทียบกับธาตุอะลูมิเนียมซึ่งเป็นโลหะและธาตุไอโอดีนซึ่งเป็นอโลหะตามตาราง
   จากตารางจะพบว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงธาตุแอสทาทีน ส่วนใหญ่มีค่าพลังงานไอออเซชันลำดับที่ 1และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีค่อนข้างสูงคล้ายกับธาตุอโลหะจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นมีค่าสูง และสามารถนำไฟฟ้าได้เช่นเดียวกับธาตุโลหะ สามารถเกิดสารประกอบได้ทั้งสารประกอบไอออนิกและสารประกอบโคเวเลนต์
จากสมบัติข้างต้นทำให้ได้ข้อมูลว่าตั้งแต่ธาตุโบรอนถึงธาตุแอสทาทีน โดยที่ตำแหน่งของธาตุเหล่านี้อยู่ชิดเส้นทึบลักษณะขั้นบันไดในตารางธาตุตั้งแต่หมู่ IIIA ลงมา มีสมบัติเป็นทั้งโลหะและอโลหะจึงจัดเป็นธาตุกึ่งโลหะ (ยกเว้นธาตุ AI มีสมบัติเป็นโลหะ ส่วนธาตุ Po และ At เป็นธาตุกัมมันตรังสี)

3.4 ธาตุแทรนซิชัน

3.4.1  สมบัติของธาตุแทรนซิชัน
               นักเคมีจัดธาตุแทรนซิชันไว้ในกลุ่มของธาตุที่เป็นโลหะ แต่ไม่ได้เป็นกลุ่มเดียวกับธาตุหมู่ IA  IIA  และ IIIA  เพราะเหตุใดจึงจัดธาตุแทรนซิชันไว้อีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อตอบคำถามนี้ให้ศึกษาสมบัติของธาตุแทรนซิชันเปรียบเทียบกับสมบัติของธาตุหมู่ IA และ IIA ที่อยู่ในคาบเดียวกันจากตาราง 3.5

ตาราง 3.5  สมบัติบางประการของโพแทสเซียม แคลเซียม และธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4


จากตาราง 3.5  พบว่าธาตุแทรนซิชันในคาบที่  มีสมบัติหลายประการคล้ายกับโลหะโพแทสเซียมและแคลเซียม เช่น พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และอิเล็กโทรเนกาติวิตีมีค่าต่ำ แต่จุดหลอมเหลว  จุดเดือด  และค อ่านเพิ่มเติม

3.3 ตำแหน่งของธาตุไฮโดรเจนในตารางธาตุ

การจัดธาตุให้อยู่ในหมู่ใดของตารางธาตุจะใช้สมบัติที่คล้ายกันเป็นเกณฑ์ ในตารางธาตุปัจจุบันได้จัดให้ธาตุไฮโดรเจนอยู่ในคาบที่ 1 ระหว่างหมู่ IA กับหมู่ VIIA เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น ให้ศึกษาสมบัติบางประการของธาตุไฮโดรเจนเปรียบเทียบกับสมบัติธาตุหมู่ IA และหมู่ VIIA

เมื่อพิจารณาข้อมูลในตาราง พบว่าไฮโดรเจนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 และมีเลขออกซิเดชัน +1 ไฮโดรเจนจึงควรอยู่ในหมู่ IA คาบที่ 1 แต่ไฮโดรเจนมีสมบัติคล้ายธาตุหมู่ VIIA หลายประการคือ มีเลขออกซิเดชันได้มากกว่าหนึ่งค่า มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 และอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง มีสถานะเป็นแก๊ส ไม่นำไฟฟ้า เมื่อเกิดเป็นสารประกอบต้องการเพียง 1 อิเล็กตรอนก็จะมีการจัดอิเล็กตรอนเช่นเดียวกับฮีเลียมซึ่งเป็นธาตุในหมู่ VIIA คาบที่ 1 อยู่ระหว่างหมู่ IA กับ VIIA ดังปรากฏในตารางธาตุ

บทที่3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

3.2 ปฏิกิริยาของธาตุและสารประกอบของธาตุตามหมู่

3.2.1  ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ IA  และ IIA

 นักเรียนทราบมาแล้วว่าธาตุหมู่ IA  และ IIA  เป็นโลหะ เมื่อทำปฏิกิริยากับอโลหะแล้วจะเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกเป็นส่วนใหญ่ ในตอนนี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกว่าโลหะหมู่ IA และ IIA เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำจะเกิ อ่านเพิ่มเติม




3.2.2  ปฏิกิริยาของธาตุหมู่ VIIA

  นักเรียนได้ศึกษาปฏิกิริยาของโลหะหมู่ IA และ IIA มาแล้ว ต่อไปจะได้ศึกษาปฏิกิริยาของอโลหะจากข้อมูลแสดงการเปลี่ยนแปลง เมื่อใช้สารละลายคลอรีน โบรมีนและไอโอดีนที่ละลายในคาร์บอนเตตระคลอไรด์ผสมกับสา อ่านเพิ่มเติม

บทที่3 สมบัติของธาตุและสารประกอบ

3.1 สมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบ

 จากการศึกษาสมบัติต่างๆ ของธาตุในตารางธาตุ เช่น ขนาดอะตอม พลังงานไอออไนเซชัน และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี จะพบว่าสมบัติเหล่านี้มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจากซ้ายไปขวาในแต่ละคาบ หรือจากบนลงล่างในแต่ละหมู่ค่อนข้างสม่ำเสมอ ต่อไปจะศึกษาสมบัติของสารประกอบของธาตุตามคาบว่ามีแนวโน้มเป็นอย่างไร โดยการศึกษาจุดหลอมเหลว จุดเดือดและความเป็น อ่านเพิ่มเติม



บทที่2 พันธะเคมี

2.3 พันธะโลหะ

พันธะโลหะ (Metallic Bond ) คือ แรงดึงดูดระหว่างไออนบวกซึ่งเรียงชิดกันกับอิเล็กตรอนที่อยู่โดยรอบหรือเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดจากอะตอมในก้อนโลหะใช้เวเลนส์อิเล็กตรอนทั้งหมดร่วมกัน อิเล็กตรอนอิสระเกิดขึ้นได้ เพราะโลหะมีวาเลนส์อิเล็กตรอนน้อยและมีพลังงานไอออไนเซชันต่ำ จึงทำให้เกิดกลุ่มของอิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่าย
พลังงานไอออไนเซชันของโลหะมีค่า อ่านเพิ่มเติม


บทที่2 พันธะเคมี

2.2 พันธะไอออนิก

พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึง พันธะระหว่างอะตอมที่อยู่ในสภาพไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามกัน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน 11 ตัว หรือมากกว่า จากอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เพื่อให้จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด ครบออกเตต ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างอะตอมของโลหะกับอโลหะ โดยที่โลหะเป็นฝ่ายจ่ายอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดให้กับอโลหะ
 เนื่องจากโลหะมีค่าพลังง อ่านเพิ่มเติม

วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทที่2 พันธะเคมี

2.1 พันธะโคเวเลนต์
        พันธะโคเวเลนต์  คือ พันธะเคมีที่เกิดจากอะตอม 2 อะตอมที่ใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกับ การใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่ เกิด 1 พันธะ อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันอาจเป็นอะตอมชนิดเดียวกันหรื อ่านเพิ่มเติม

บทที่1 อะตอมและตารางธาตุ

1.2 ตารางธาตุ
   ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบธาตุแล้วเป็นจำนวนมาก ธาตุเหล่านั้นอาจมีสมบัติบางประการคล้ายกันแต่ก็มีสมบัติบางประการที่แตกต่างกัน จึงยากที่จะจดจำสมบัติต่างๆของแต่ละธาตุได้ทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์จึงหากฎเกณฑ์ในกา อ่านเพิ่มเติม


บทที่1 อะตอมและตารางธาตุ

1.1 แบบจำลองอะตอม เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมาก อีกทั้งไม่มีใครเคยมองเห็นอะตอมมาก่อน เมื่อนักวิทยาศาตร์พัฒนากล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่มีกำลังขยายสูงมากนำมาใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ จึงสามารถถ่ายภาพที่เชื่อว่าเป็นภาพภายนอ อ่านเพิ่มเติม